การเขียนย่อความ

กลับสู่หน้าหลัก ................... หลักกฎหมายทั่วไป .......... กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

กฎหมายอาญา ........... หลักการเขียนเรียงความ ........ รูปต่างๆเกี่ยวกับกฎหมาย

 

การเขียนย่อความ

การย่อความคือการนำเอาเรื่องราวต่างๆมาเขียนใหม่ ด้วยสำนวนภาษาของผู้ย่อเองเมื่อเขียนแล้วเนื้อควาวมเดิมจะสั้นลง แต่ยังมีใจความสำคัญ

ครบถ้วนสมบูรณ์ การย่อนี้ไม่มีขอบเขตว่าย่อลงไป เท่าใดจึงจะเหมาะเพราะบางเรื่องมีพลความมากก็ย่อลง ไปมาก แต่บางเรื่องมีใจความมาก

ก็จะย่อได้ 1 ใน2,1 ใน3 หรือ1 ใน4 ของเรื่องเดิม ตามแต่ผู้ย่อจะเห็นสมควร

 

ใจความ คือ ข้อความสำคัญในบทพูดและบทเขียน

 

พลความ ทำหน้าที่ขยายใจความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าตัดออกผู้ฟังหรือผู้อ่านก็ยังเข้าใจเรื่องนั้นได้

 

วิธีหาใจความ คือ พิจารนาบทพูดหรือบทเขียน ว่าถ้าตัดข้อความใดออกแล้ว

ความตอนต้นเรื่องจะเสียหมด ข้อความนั้นคือใจความ

 

หลักการย่อความ

1. เขียนคำนำตามประเภทของเรื่อง

2. อ่านเรื่องทั้งหมดอย่างละเอียด อ่านถึง2-3 เที่ยว เพื่อให้เข้าใจเรื่องให้ตลอด

3. ทำความเข้าใจศัพท์สำนวน โวหารในเรื่อง

4. ถ้าเรื่องที่จะย่อเป็นร้อยกรองต้องถอดคำประพันธ์เป็นร้อยแก้วก่อนจึงย่อ

5. สังเกตใจความสำคัญแล้วแยกออกเป็นตอนๆ

6. สรรพนามบุรษที่1,2 ต้องเปลี่ยนเป็นบุรุษที่3 หรือเอ่ยชื่อ

7. ถ้าคำเดิมเป็นคำราชาศัพท์ให้คงไว้

8. ข้อความที่เป็นคำพูดในเครื่องหมายอัญประกาศต้องเขียนใหม่ซึ่งเรียกว่าเปลี่ยน เลขในเป็นเลขนอก

9. เรื่องที่จะย่อถ้าไม่มีชื่อเรื่องผู้ย่อต้องตั้งชื่อเรื่องเอง

 

ประโยชน์ของการย่อความ

1. ช่วยให้การอ่านการฟังได้ผลดียิ่งขึ้น ช่วยให้เข้าใจและจดจำข้อความที่สำคัญที่ได้อ่าน หรือฟังได้สะดวกรวดเร็ว

2. ช่วยในการจดบันทึก เมื่อได้ฟังหรือศึกษาวิชาใด รู้จักจดข้อความที่สำคัญลงในสมุด ได้ทันเวลาและได้เรื่องราว

3. ช่วยในการเขียนตอบแบบฝึกหัดหรือข้อสอบ

4. ช่วยเตือนความจำนักเรียนอ่านหนังสือแล้วทำบทย่อเป็นตอนๆ จะช่วยให้ไม่ต้องอ่าน หนังสือซ้ำ

5. ช่วยประหยัดเงินในการเขียนข้อความในโทรเลขถ้ารู้จักย่อความ