ความรู้เรื่องกฎหมาย

 

กลับสู่หน้าหลัก ................ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ .............. กฎหมายอาญา

หลักการเขียนเรียงความ .............. หลักการเขียนย่อความ ................ รูปต่างๆเกี่ยวกับกฎหมาย

 

หัวข้อย่อยในหน้านี้ .............. ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดเดิม ...... ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดใหม่ .....

ลักษณะสำคัญของกฎหมาย ....... ที่มาของกฎหมาย ........... ประเภทและลำดับชั้นของกฎหมาย ......... สรุปสาระสำคัญ

 

 

"กฎหมาย คือ บรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลาิยของบุคคล

อันเกี่ยวด้วยเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างกัน ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้อง มีความผิดและถูกลงโทษ

ในทางอาญาอาจจะมีโทษปรับเป็นเงินหรือโทษจำคุกในทางแพ่งอาจจะถูกบังคับให้ชำระหนี้ หรือชดใช้ค่าเสียหาย"

 

ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดเดิม

1.        กฎหมาย คือ คำบัญชาของผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ

2.        กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่

ทำตามก็จะต้องถูก ลงโทษ

 

ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดใหม

1.        กฎหมาย คือ ระเบียบกฎเกณฑ์ซึ่งมีลักษณะเป็นสากลและพบเห็นได้ในทุกสังคม

2.        กฎหมาย คือ ระบบที่มีอำนาจโดยชอบธรรมซึ่งมีการรับรองไว้แล้ว

3.        กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์สูงสุดของสังคมและเป็นตัวควบคุมกฎเกณฑ์อื่น ๆ

4.      กฎหมายคือระบบกฎเกณฑ์ที่มีการจัดทำการตีความและการใช้บังคับเป็นกิจจะลักษณะ

 

ลักษณะสำคัญของกฎหมาย

1.        กฎหมายจะต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์

2.        กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป

3.        กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป

4.        กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม

5.        กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ

 

ที่มาของกฎหมาย

1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร

2. กฎหมายจารีตประเพณี

3. หลักกฎหมายทั่วไป

 

ประเภทและลำดับชั้นของกฎหมาย

ประเภทของกฎหมาย กฎหมายมี 3 ประเภทคือ

1.        กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน

2.        กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชน

3.        กฎหมายระหว่างประเทศ คือกฎหมายที่กำหนดตามความเกี่ยวพันระหว่างประเทศ

แบ่งออกเป็น 3 แผนก คือ

3.1     กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

3.2     กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

3.3     กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

 

ลำดับชั้นของกฎหมาย

1.        กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือกฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ

ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐ หรืออำนาจอธิปไตย

2.        พระราชบัญญัติ (พรบ) คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์

ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญ

3.        ประมวลกฎหมาย คือ กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ได้บัญญัหรือตราขึ้นติ

โดยรวบรวมจัดเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายที่ เป็นเรื่องเดียวกันเอามารวบรวมเป็นหมวดหมู่

4.        พระราชกำหนด ( พรก) คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์

ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี การตราพระราชกำหนดให้

5.        พระราชกฤษฎีกา ( พรฎ) คือ กฎหมายที่

พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกาจะออกได้

6.        กฎกระทรวง คือ กฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอัน

เป็นกฎหมายแม่บทออกมาเพื่อดำเนินการให้ เป็นไปตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ

7.        ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่ง

คือ กฎหมายปลีกย่อยประเภทที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้แก่เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบการปฏิบัติราชการ

8.        กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง

ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ และข้อบังคับ

 

สรุปสาระสำคัญ

1.        ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มี 5 ประเภท

1.        กฎหมายต้องมาจากรัฎฐาธิปัตย์

2.        กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป

3.        กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป

4.        กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม

5.        กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ

2.        ที่มาของกฎหมายไทย ได้แก่

1.        กฎหมายลายลักษณ์อักษร

2.        กฎหมายจารีตประเพณี

3.        กฎหมายทั่วไป

4.        ประเภทของกฎหมาย ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด

พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง และกฎหมายที่ออกโดยองค์การปกครองตนเอง